ซีรีส์ภาคต่อของ Netflix ประสบปัญหากับภาวะซบเซาของคอนเท้นต์เกาหลี

You are currently viewing ซีรีส์ภาคต่อของ Netflix ประสบปัญหากับภาวะซบเซาของคอนเท้นต์เกาหลี

Squid Game 2‘ จะทำลายสถิติผลงานที่ไม่ค่อยน่าพอใจของ Netflix ได้หรือไม่?

Netflix เผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นกับการหยุดสร้างภาคต่อที่น่าผิดหวัง แม้จะมีการคาดหวังสูงสำหรับซีซั่น 2 ของซีรีส์ยอดนิยมอย่าง “Sweet Home” “Gyeongseong Creature” และ “D.P.” แต่ซีรีส์ภาคต่อเหล่านี้ก็ไม่สามารถสำเร็จเท่าภาคแรกได้

แม้แต่ Hellbound ซีซั่น 2 ที่คนคาดหวังกับการออกอากาศสูงก็ยังได้รับการตอบรับที่ไม่ดีนัก จนเกิดคำถามว่า Netflix ให้ความสำคัญกับภาคต่อมากเกินไปโดยอิงจากความนิยมมากกว่าคุณภาพหรือไม่

การผลิตเป็นซีซั่น ช่วงแรกพบในฮอลลีวูดและตลาดทั่วโลก ต่อมาได้ขยายไปสู่แพลตฟอร์มสตรีมมิ่งของเกาหลี ทำให้เกิดกระแสใหม่ในซีรีส์เกาหลี กระแสนี้ทำให้เกิดความคาดหวังว่าซีรีส์ดังทุกเรื่องจะต้องมีภาคต่อโดยอัตโนมัติ

แต่ซีรีส์ของ Netflix ที่มีภาคต่อได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเทียบไม่ได้เลย บางคนตั้งคำถามถึงแนวทางและวิสัยทัศน์ของแพลตฟอร์มนี้

ซีรีส์ที่มีภาคต่อมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจนทั้งการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและฐานผู้ชมที่รักซีรีส์มาก ๆ ซึ่งรับประกันได้ว่าต้องติดตามแน่นอน ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ส่งเสริมให้สตูดิโอพยายามสร้างภาคต่อ ท่ามกลางภูมิทัศน์การถ่ายทำที่ไม่มั่นคงในปัจจุบันของเกาหลี เรื่องราวที่มีภาคต่อให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่

แต่ภาคต่อที่สร้างขึ้นโดยไม่มีวิสัยทัศน์ระยะยาวสำหรับการสร้างโลกและความสม่ำเสมอของตัวละครอาจประสบปัญหาในการรักษาคุณภาพ ซึ่งเห็นได้จากผลงานล่าสุดของ Netflix

ผลงานที่ประสบความสำเร็จ เช่น D.P. 2, Sweet Home2 และ Sweet Home 3, Gyeongseong Creature 2 ,Hellbound 2 และแม้แต่ภาคต่อของภาพยนตร์ Believer 2 ต่างก็ทำผลงานได้ต่ำกว่าซีซั่นแรก

แม้ว่าซีรีส์แต่ละเรื่องจะเผชิญกับความท้าทายที่แตกต่างกัน แต่ไม่มีเรื่องใดประสบความสำเร็จในการสร้างภาคต่อที่เหนือกว่าภาคแรกได้

นักวิจารณ์กังวลว่าการตอบรับที่ไม่ดีของภาคต่อเหล่านี้อาจส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของเนื้อหาต่าง ๆ ของเกาหลีโดยรวมด้วย

แม้ว่า Netflix จะใช้เวลากว่า 10 ปีในการลงทุนกับคอนเทนต์ของเกาหลี แต่ปี 2023 กลับมีการชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่มีซีรีส์ใหม่ที่โดดเด่นหลังจาก “Squid Game” และ “The Glory” ที่สร้างอิมแพ็คไปทั่วโลก

ผู้กำกับยอนซังโฮเน้นถึงข้อจำกัดของรูปแบบการผลิตภาคต่อของผลงานในเกาหลีว่า

“เพื่อผลิตภาคต่อที่เหมาะสม เราต้องการเวลาเพิ่มเติม” เขากล่าว “ตอนสร้าง ‘Hellbound’ ซีซัน 2 ผมสงสัยว่า ‘จังหวะของเราตรงกับกับความคาดหวังของคนดูหรือไม่’ ปัจจุบันรูปแบบผลงานของเกาหลีเน้นการสร้าง 1-2 ซีซั่นในแต่ละเรื่อง ถ้าต้องการสร้างภาคต่อที่ประสบความสำเร็จ เราต้องการระบบที่มีโครงสร้างเหมือนระบบที่ใช้ในต่างประเทศ แต่ในเกาหลี ระบบดังกล่าวยังไม่มีอยู่จริง ผมเลยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบนี้ครับ”

เขาพูดต่อว่า “การสร้างระบบใหม่ทั้งหมดในอุตสาหกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ ตอนนี้เกาหลีอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน”

เมื่อมองภาพรวม เห็นได้ชัดว่าหากต้องการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของซีรีส์เกาหลีให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว เกาหลีจะต้องมีระบบที่รองรับทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะนี้ อุตสาหกรรมบันเทิงกำลังจับตาดูการเปิดตัว “Squid Game” ซีซั่น 2 ในเร็ว ๆ นี้ โดยหวังว่าซีซั่นนี้จะสร้างกระแสและนำความสำเร็จครั้งใหม่มาสู่คอนเทนต์ของเกาหลีบนเวทีระดับโลกได้

Leave a Reply