ซีรีส์เกาหลีแนวย้อนยุค ตรงกับประวัติศาสตร์จริงมากแค่ไหน? แยกเรื่องจริงและเรื่องแต่งจากซีรีส์เกาหลี 5 เรื่อง 

You are currently viewing ซีรีส์เกาหลีแนวย้อนยุค ตรงกับประวัติศาสตร์จริงมากแค่ไหน? แยกเรื่องจริงและเรื่องแต่งจากซีรีส์เกาหลี 5 เรื่อง 

ผลงานแนวย้อนยุคเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือซีรีส์ยังคงได้รับความนิยมมาโดยตลอด

ผู้ชมทั้งในและต่างประเทศต่างได้มีโอกาสรับชมเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่และเห็นความเป็นอยู่ของผู้คนเกาหลีในอดีต

หลายครั้งหลายหนในผลงานหลายเรื่อง เราจะพบว่ามักเป็นเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากประวัติศาสตร์ ตัวละครอาจจะมีอยู่จริง แต่เรื่องราวถูกแต่งขึ้นใหม่ ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า เรื่องไหนคือเรื่องจริง หรือ เรื่องไหนคือเรื่องแต่งขึ้น ลองมาวิเคราะห์ผ่านซีรีส์ย้อนยุคเกาหลี 5 เรื่องนี้กัน

1. “Queen Seondeok” (2009): เพิ่มความดราม่าให้กับชีวิตของพระมเหสีที่มีอยู่จริง


Queen Seondeok ซีรีส์ยอดฮิตของช่อง MBC ออกอากาศเมื่อปี 2009 แสดงโดย อียอวอน (Lee Yo-won) รับบท พระมเหสีซอนด๊อก (และ ด๊อกมัน ชื่อตอนที่ยังเป็นเจ้าหญิง), โกฮยอนจอง (Go Hyeon-jeong) รับบทเป็น ตัวร้าย มีชิล และ ออมแทอุง (Uhm Tae-woong) รับบทเป็น คิมยูชิน โดยซีรีส์เรื่องนี้มีทั้งหมด 62 ตอน และได้เรตติ้งสูงอยู่ตลอด

เล่าเรื่องของพระมเหสีซอนด๊อกแห่งซิลล่า (57 ปีก่อนคริสตกาล ถึง ค.ศ. 935) พระมเหสีซอนด๊อก มีอำนาจในช่วง 632 – 647 ตอนที่ซิลล่ากำลังมีปัญหากับเพื่อนบ้านอย่างอาณาจักรแบคเจ และ โคกูรยอ

มีชิล ตัวร้ายหลักของเรื่องได้รับความสนใจจากผู้ชม จนบางคนบอกว่านี่คือเรื่องของ มีชิล ไม่ใช่ พระมเหสีซอนด๊อก อย่างไรก็ตาม ตัวละครมีชิลนั้นส่วนใหญ่แต่งขึ้นจากการอ้างอิงตัวละครมาจากพงศาวดารฮวารังของประวัติศาสตร์ซิลล่าของ คิมแดมุน แค่เล็กน้อยเท่านั้น ตลอดทั้งเรื่องมีเรื่องที่แต่งขึ้นใหม่ เริ่มจากการกำเนิดของ ด๊อกมัน ในฐานะลูกสาวฝาแฝดคนสุดท้องของพระราชาจินพยองและพระมเหสีมายา

อย่างไรก็ตาม ได้มีการพูดถึงตำนานของซิลล่า ที่บอกว่าจะมีผลกระทบร้ายแรงหากพระมเหสีกำเนิดลูกแฝด แต่ในบันทึกประวัติศาสตร์ไม่ได้ระบุว่า ด็อกมันมีฝาแฝด ในซีรีส์ด็อกมันถูกเลี้ยงอย่างลับๆที่มองโกเลีย แตกต่างจากที่บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์จริงว่าเธออยู่ในวังโดยไม่ได้ปลอมตัว

สำหรับเรื่องราวโรแมนติกระหว่าง ด๊อกมัน และ คิมยูชิน แน่นอนว่าเรื่องนี้แต่งขึ้นทั้งหมด นักประวัติศาสตร์ได้ออกมาวิจารณ์ซีรีส์ว่าเน้นความบันเทิงมากกว่าความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการแต่งงานของพระมเหสีด็อกซอน และทายาทของเธอ

แม้ว่าซีรีส์จะพูดถึงผลงานของเธอ เช่น การก่อสร้างหอดูดาวชอมซองแด และ เจดีย์เก้าชั้นที่วัดฮวังนยอง แต่ซีรีส์ก็แต่งเรื่องนางกำนัลของเธอที่ทรยศ ซึ่งกลายเป็นผู้รวบรวมกบฎในยุคซิลล่า

2. “Love in the Moonlight” (2016): ชีวิตขององค์ชายฮยอมยอง ไม่ใกล้เคียงกับคำว่าน่าหลงใหลเลย

“Love in the Moonlight” ได้ออกอากาศเมื่อปี 2016 โดยเล่าเรื่องขององค์รัชทายาทฮยอมยอง (1809-1930) 1 ใน 27 กษัตริย์แห่งราชวงค์โชซอน ((1392-1910)

พัคโบกอม (Park Bo-gum) รับบทเป็น องค์รัชทายาทฮยอมยอง แม้ว่าซีรีส์จะกล่าวถึงตัวละครที่มีอยู่จริง แต่เนื้อเรื่องที่เล่าเรื่องราวโรแมนติกระหว่างองค์รัชทายาท และขันที ซึ่งเป็นผู้หญิงปลอมตัวมา (รับบทโดย คิมยูจอง (Kim Yoo-jung)) ทำให้ผู้ชมหลายคนรู้ทันทีว่านี่คือเรื่องแต่ง และไม่ได้มาจากเรื่องจริง อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ว่าซีรีส์ทั้งเรื่องจะไม่อ้างอิงเรื่องราวในประวัติศาสตร์จริงเลย 

ซีรีส์เล่าเรื่องในยุคของพระเจ้าซอนโจ ตระกูลอี แต่ในชีวิตจริง เขาเป็นญาติทางฝั่งแม่ของตระกูลอันดงคิม ซึ่งเป็นตระกูลที่มีอำนาจทางด้านการเมืองและการปกครองประเทศ ทำให้พระราชาซอนโจไม่มีอำนาจ ข้าราชการเสื่อมโทรม และเต็มไปด้วยปัญหาคอรัปชั่น

หญิงสาวที่องค์รัชทายาทฮยอมยองตกหลุมรักในเรื่องชื่อว่า ฮงราอน ซึ่งปลอมตัวเป็นผู้ชายและได้มาเป็นขันทีรับใช้องค์รัชทายาทในวัง ในซีรีส์บอกว่าเธอเป็นลูกสาวของ ฮงกยองแน ผู้เริ่มต้นการจลาจลในปี 1811 อย่างไรก็ตามตัวละครของเธอถูกแต่งขึ้น

ซีรีส์นำเสนอว่าองค์รัชทายาทเป็นผู้นำที่ดี ให้เกียรติผู้รับใช้และประชาชน อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างเขากับพ่อในซีรีส์ถือเป็นปมใหญ่ที่สุด และไม่มีการบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าระหว่างพ่อและลูกชายมีปัญหากัน

ซีรีส์ได้พูดถึงบุคคลสำคัญที่มีจริงในประวัติศาสตร์ นั่นคือ จองยักยง หนึ่งในนักปรัชญาที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโชซอน ในซีรีส์ องค์รัชทายาทฮยอมยองไปหาเขาบ่อยๆเพื่อขอคำแนะนำ ซึ่งเรื่องนี้ไม่มีการบันทึกทางประวัติศาสตร์เช่นกัน แต่มีบันทึกว่า จองยักยง สนิทกับพระเจ้าจองโจ ซึ่งเป็นปู่ของฮยอมยอง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีความสัมพันธ์อันดีกับพระราชาจองโจ แต่เขาได้ถูกให้ออกจากวังหลวงในปีแรกของการขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าซอนโจ มีอยู่ตอนหนึ่งในซีรีส์ ฮยอมยองเกือบถูกวางยาจนเสียชีวิต แต่จองยักยงมาเยี่ยมเขาและให้ยาเอาไว้ ในบันทึกประวัติศาสตร์ จองยักยงได้นำยามาให้องค์รัชทายาทฮยองยองในช่วงสุดท้ายของชีวิตของเขาเช่นกัน 

3. “Mr. Sunshine” (2018): เรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ทำให้ผู้ชมบางคนไม่พอใจ

MR. SUNSHINE

หลังจากพ่อแม่ของเธอถูกลอบสังหารในญี่ปุ่น โคเอชินถูกส่งกลับมาเกาหลี และถูกเลี้ยงโดยปู่ของเธอ 

ในปี 1875 ไม่นานหลังจากเธอกลับมาเกาหลี ได้เกิดสงครามกังฮวาขึ้นโดยมีทัพญี่ปุ่นเข้ามารุกรานเกาหลี สุดท้ายทำให้เธอต้องฝึกยิงปืน และเข้าร่วมกองกำลังพิทักษ์ความชอบธรรมแห่งเกาหลีเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น

 ซีรีส์เรื่อง Mr. Sunshine ที่ออกอากาศในปี 2018 มีตัวละครบางตัวและเนื้อเรื่องบางส่วนถูกแต่งขึ้น และบางส่วนอ้างอิงมาจากประวัตศาสตร์จริง

ในซีรีส์พ่อแม่ของโคเอชินเป็นสมาชิกกองกำลังพิทักษ์ความชอบธรรมแห่งเกาหลี ได้เดินทางมาญี่ปุ่นก่อนสงครามกังฮวา เพื่อโปรโมทกิจกรรมต่อต้านญี่ปุ่นในญี่ปุ่น แต่ความจริงแล้วการปล้นสะดมของญี่ปุ่นในโชซอนเกิดขึ้นหลังจากสงครามกังฮวา ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการลุกฮือของกลุ่มคนรักชาติอย่างกองกำลังพิทักษ์ความชอบธรรมแห่งเกาหลี

กูดงเม รับบทโดย ยูยอนซอก (Yoo Yeon-seok) เป็นตัวละครที่ถูกอธิบายว่าเดิมทีเขาเป็นคนขายเนื้อชั้นต่ำจากเกาหลี แต่ได้มาเติบโตเป็นสมาชิกของเก็นโยชะในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มคลั่งชาติซึ่งทรงอิทธิพล

เขากลับมาที่เกาหลี และเป็นหัวหน้าของกลุ่มมังกรดำในฮันซอง เมืองหลวงของโชซอน มีการคาดการณ์ว่าเก็นโยชะจะปล่อยกองกำลังในเกาหลี เพื่อรุกรานและลอบสังหารพระเจ้ามยองซอง

อย่างไรก็ตามความโหดร้ายที่กูดงเมแสดงต่อเกาหลทำให้ผู้ชมเกาหลีไม่พอใจเป็นอย่างมาก ในซีรีส์เขารับบทเป็น เด็กชายยากจนที่ถูกทอดทิ้งโดยบ้านเกิดของตัวเอง และไม่มีทางเลือกนอกจากการกระหายการแก้แค้น

บางคนถึงกับยื่นข้อเรียกร้องไปยังทำเนียบประธานาธิบดีเกาหลี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม เพื่อขอให้มีการกำหนดข้อกฎหมายในการลงโทษการบิดเบือนประวัติศาสตร์ โดยบอกว่าซีรีส์เกาหลีที่ออกอากาศทาง Netflix ทำให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้ผู้ชมต่างประเทศเข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เกาหลีและการรุกรานของญี่ปุ่น

ทีมงานของซีรีส์ได้ออกมาชี้แจ้งและขออภัยเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมบอกว่าไม่มีความตั้งใจที่จะโรแมนติไซส์ผู้สนับสนุนญี่ปุ่น และทีมผู้ผลิตตัดสินใจเปลี่ยนแปลงตัวละครตัวนี้ในตอนท้าย

4. “The Red Sleeve” (2021): การรวมเอาเรื่องจริงและเรื่องแต่งที่ทำให้บางคนสับสน

The Red Sleeve ซีรีส์ของช่อง MBC เล่าเรื่องราของพระเจ้าจองโจ (รับบทโดย อีจุนโฮ (Lee Jun-ho)) และนางสนมอูบินซอง (รับบทโดย อีเซยอง (Lee Se-young)) ซีรีส์ดัดแปลงมาจากประวัติศาสตร์จริงของอูบินซอง ที่มีชื่อจริงว่า ซองด๊อกอิม ผู้ปฏิเสธข้อเสนอการเป็นสนมของพระเจ้าจองโจ 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตามซีรีส์จะเน้นเรื่องที่แต่งขึ้นมากกว่า เพราะเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อที่นางในในสมัยโชซอน (1392-1910) จะสามารถปฏิเสธความต้องการของพระราชาหรือองค์รัชทายาทได้ และเป็นไปได้หรือไม่ที่พระราชาจะยอมรับพฤติกรรมแบบนี้?

ในซีรีส์ทั้ง 2 ตัวละคะพระ-นาง มีเหตุการณ์ที่พบกันโดยบังเอิญและทำให้พวกเขาตกหลุมรักกัน ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องแต่งขึ้น และในซีรีส์ไม่ค่อยพูดถึงภรรยาคนแรกของอีซาน พระมเหสีฮยูอี ที่แต่งงานกับองค์รัชทายาทตั้งแต่ปี 1762 ซึ่งตอนนั้นเธออายุ 9 ขวบ และอีซาน อายุ 11 ขวบ

เรื่องราวโรแมนติกไม่ได้จบอย่างสวยหรูเสมอไป ในซีรีส์ประวัติศาสตร์ก็เช่นกัน ด๊อกอิมตกลงจะยอมเป็นสนมตอนที่เธออายุ 30 ปี และให้กำเนิดองค์รัชทายาทมุนฮโยในปี 1782 เขาเป็นลูกคนแรกของพระเจ้าจองโจ แต่เสียชีวิตด้วยโรคหัดในเดือนมิถุนายน ปี 1786 ตอนอายุ 22 เดือน ตอนนั้นด๊อกอิมกำลังอยู่ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์ลูกอีกคน และเธอเสียชีวิตหลังจากนั้น 4 เดือน ทำให้เด็กในท้องเสียชีวิตไปด้วยเช่นกัน 

ผู้กำกับซีรีส์เรื่อง The Red Sleeve พยายามตีความการปฏิเสธการเป็นสนมของด็อกอิม ว่าเธอพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้สิทธิในการเลือกใช้ชีวิตของเธอในรั้ววังหลวง ผู้กำกับยังได้สร้างกลุ่มกวังฮันกุง ซึ่งเป็นองค์กรลับที่นำโดยหัวหน้าซังกุงโจ มีความพยายามจะฆ่าพระเจ้าจองโจ ในซีรีส์ซังกุงโจพยายามบอกให้รู้หลายครั้งถึงความสำคัญของพระสนมว่าจริงๆแล้วเป็นคนที่มีอำนาจ ทั้งการดูแลอาหาร, เครื่องแต่งกาย, การอาบน้ำ ตลอดจนการโน้มน้าวพระราชาและพระมเหสีเมื่อมีเรื่องสำคัญที่ต้องตัดสินใจ นักประวัติศาสตร์เล่าว่ามีข่าวลือเกี่ยวกับพระสนมว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตขององค์รัชทายาทฮโยจาง (1719-1728) ลูกชายคนแรกของพระเจ้ายองโจ ที่เสียชีวิตตอนอายุ 10 ขวบโดยไม่ทราบสาเหตุ

อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์ยืนยันว่าเนื่องจากโชซอนปกครองโดนกษัตริย์ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่นางในจะมาแทรกแซงการปกครอง ยิ่งในสังคมที่เชื่อในลัทธิขงจื๊อ ยิ่งมีการแบ่งเรื่องเพศและลำดับขั้นอย่างเข้มงวด

นอกจากนี้ยังมี ฮงด๊อกโร มิตรสนิทของพระเจ้าจองโจ เป็นหนุ่มที่มีเสน่ห์จนสาวๆหลายคนตกหลุมรักจริงหรือไม่? ในเอกสารเขียนด้วยลายมือฉบับจริง ชื่อว่า ‘ความทรงจำของท่านหญิงฮเยกยอง’ กล่าวถึงพระเจ้ายองโจ และ ด็อกโร คนโปรดของจองโจ ซึ่งมีชื่อว่า ฮงกุกยอง ท่านหญิงฮเยกยองเขียนไว้ว่า ด๊อกโรเป็นคนฉลาด และมีเสน่ห์ ทำให้นางในหลายคนหลงใหลในตัวเขา ทำให้สุดท้ายเขาได้รับข่าวสารมากมายจากนางในและนำเรื่องเหล่านั้นไปบอกพระเจ้าจองโจ

5. “Under the Queen’s Umbrella” (2021): ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับอิทธิพลของจีน

Under the Queen’s Umbrella เป็นซีรีส์อีกหนึ่งเรื่องที่เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นในยุคโชซอน เรื่องนี้นำแสดงโดยนักแสดงมากความอย่าง คิมฮเยซู (Kim Hye-soo)

ซีรีส์เริ่มต้นด้วยคำชี้แจง “ตัวละคร, สถานที่, องค์กร และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีรีส์ไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และเป็นเรื่องแต่งขึ้น” นอกจากยุคสมัยโชซอนแล้ว เนื้อเรื่องของซีรีส์แทบจะทั้งหมดถูกแต่งขึ้น และไม่มีตัวละครใดเลยในซีรีส์เรื่องนี้มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์เกาหลี

ผู้ชมซีรีส์เกาหลีคุ้ยเคยกันดีอยู่แล้วสำหรับกฎหมายในวังโชซอน ทำให้ยิ่งมองเห็นว่าซีรีส์เรื่องนี้เป็นเรื่องแต่งตั้งแต่ตัวอย่างของซีรีส์ ที่เผยภาพของ พระมเหสีฮวารยอง (รับบทโดย คิมฮเยซู) กำลังวิ่งไปหาลูกชายหลังจากที่ลูกของเธอสร้างความวุ่นวาย ซึ่งแน่นอนว่าในประวัติศาสตร์จริงไม่อนุญาตให้ทำเช่นนี้ พระมเหสีจะต้องเดินช้าๆด้วยท่วงท่าที่สง่างามอยู่เสมอ 

แม้ว่าจะเห็นได้ชัดว่าซีรีส์เป็นเรื่องแต่งขึ้น แต่ก็ยังได้รับคำวิจารณ์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกับซีรีส์และภาพยนตร์ย้อนยุคเรื่องอื่น คำวิจารณ์เริ่มจากตอนที่ 2 ที่มีฉากตัวละครจีนปรากฎตัวขึ้นมาและมีซับไตเติ้ลอธิบายด้วยคำที่บอกว่า ‘มุลกวีวอนจู’ ถ้าแปลอย่างหยาบๆก็หมายถึง ‘สิ่งที่ของที่หายหรือถูกขโมยไป แต่สุดท้ายก็กลับมาหาเจ้าของ’ จริงๆแล้วต้องตัวอักษรฮันจา ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ใช้จริงในช่วงราชวงศ์โชซอน 

จากนั้นในตอนที่ 5 เป็นตอนที่คิมฮเยซูได้ไปหาพระราชาในห้องนอน ฉากนี้มีคำอธิบายว่า ‘แทฮวาจอน’ ด้วยตัวอักษรจีน อย่างไรก็ตามเตียงของพระราชาในราชวงศ์โชซอนจะถูกเรียกว่า กังกยองจอน ในวังกยองบ๊ก, แดโจจอน ในวังชางด๊อก, ซอรยองจอน ในวังชางด๊อก หรือ ฮัมยนองจอน ในวังด๊อกซู ส่วนตัวอักษรจีนที่เขียนว่า แทฮวาจอน ถูกใช้สำหรับ Hall of Supreme Harmony โถงที่ใหญ่ที่สุดในพระราชวังต้องห้ามในจีน ซึ่งชาวเน็ตบอกว่าเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลมาจากจีนอย่างเห็นได้ชัด

ในตอนเดียวกัน มีฉากที่คิมฮเยซู เรียกตัวเองว่า ‘บนกุง’ ต่อหน้าหัวหน้าเสนาธิการ โดยเธอตะโกนด่าเขาให้เงียบ เรื่องนี้นักประวัตศาสตร์เกาหลีบอกว่า พระมเหสีของเกาหลีไม่เคยแทนตัวเองว่า บนกุง แต่จะเรียกว่า โชชอบ หรือ ชินชอบ สำหรับคำว่า บนกุง เป็นคำที่มักจะได้ยินบ่อยในซีรีส์ประวัติศาสตร์จีน เป็นคำที่พระมเหสีพูดเมื่อพูดถึงตัวเอง

นักประวัติศาสตร์บางคนบอกว่าคอนเซ็ปต์ทั้งหมดของซีรีส์ไม่สมจริง เพราะจริงๆแล้วองค์ชายจะไม่แข่งกันเพื่อให้ได้เป็นพระราชา เพราะมีกฎในการสืบสายเลือดโดยตรงอยู่แล้ว

นักวิจารณ์วัฒนธรรมจองด๊อกฮยอนบอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะวิจารณ์ว่าซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัตศาสตร์ เพราะมันคือเรื่องราวที่แต่งขึ้น

Leave a Reply